การสร้างลายเซ็นต์ (คำลงท้าย Email) คือ การสร้าง Signature เกี่ยวกับตัวเราหรือเกี่ยวกับธุรกิจของเรา เพื่อให้ผู้รับได้ทราบว่าเราคือใครและง่ายต่อการติดต่อกลับในครั้งถัดไป โดยการสร้างลายเซ็นต์สามารถใส่รายละเอียดได้ทั้ง ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ หรือชื่อเว็บไซต์ของเรา หรือแม้กระทั่งคำลงท้ายที่ต้องพิมพ์บ่อยๆ เช่น ขอแสดงความนับถือ ขอบคุณครับ/ขอบคุณค่ะ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

ลายเซ็นต์ใน Email ช่วยเราได้อย่างไร

ลายเซ็นต์หรือคำลงท้าย Email ช่วยให้ผู้รับ ทราบถึงว่าผู้ส่งมีตัวตนอยู่จริงและป้องกันการปลอมแปลง Email เพราะโดยทั่วไปการปลอมแปลง Email นั้นจะไม่สามารถปลอมลายเซ็นต์หรือคำลงท้าย Email ของบุคคลที่เป็นผู้ส่งได้ ทำให้ลายเซ็นต์หรือคำลงท้าย Email นั้นสำคัญเพราะเป็นการระบุข้อมูลส่วนตัว รวมถึงมีสัญลักษณ์เฉพาะองค์กร เช่น โลโก้บริษัท เป็นต้น

ขั้นตอนการสร้างลายเซ็นด้วย Gmail

1.เข้าสู่ระบบ Gmail จากนั้นคลิกที่รูปฟันเฟืองหรือ Settings เลือก See all Settings

2.ในแถบ General (ทั่วไป) ให้เลื่อนลงมาที่หัวข้อ Signature แล้วเลือก Create new

3.ตั้งชื่อลายเซ็น(คำลงท้าย Email) ที่เราต้องการ เสร็จแล้วคลิกที่ Create

4.จากนั้นกำหนดข้อความที่เราต้องการให้แสดงผล นอกจากนี้สามารถแทรกรูปภาพ ลิงก์ หรือแม้กระทั่งการกำหนดรูปแบบของข้อความ การเปลี่ยนสีของข้อความ การจัดตำแหน่งต่างๆ และปรับขนาดของตัวอักษรได้อีกด้วย

5.หลักจากกำหนดข้อความที่เป็นลายเซ็นต์ (คำลงท้าย Email) เรียบร้อยแล้วให้เลื่อนลงมาด้านล่าง ที่หัวข้อ Signature defaults (ค่าเริ่มต้นของลายเซ็นต์) ในช่องทั้งสองช่องด้านล่างให้เลือกเป็นชื่อลายเซ็นต์ (คำลงท้าย Email) ที่เราตั้งไว้ทั้งสองช่อง 

6.เมื่อทำทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วให้เลื่อนลงมาด้านล่างสุดแล้วคลิก Save Changes (บันทึกการเปลี่ยนแปลง)

7.หลักจากบันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้วเมื่อจะส่ง Email ใหม่ จะมีลายเซ็นต์ (คำลงท้าย Email) ขึ้นมาให้ทุกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าร่วมการประชุมและการโทรด้วยเสียงจากการแชทแบบ 1:1 โดยใช้ Google Chat ใน Gmail บนมือถือ

การอัปเดตและการปรับปรุงภาพสำหรับช่อง To, Cc และ Bcc ใน Gmail

ทำการค้นหาอีเมลอย่างละเอียดด้วยตัวกรองแบบใหม่ใน Gmail บนเว็บ

บันทึกรูปภาพจากข้อความ Gmail ไปยัง Google Photos ด้วยปุ่ม “บันทึกในรูปภาพ”

ขณะนี้การส่งออก Gmail ในห้องนิรภัยมีไฟล์ข้อมูล CSV metadata

 

  • คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มั้ย
  • มี   ไม่มี