ภาพประกอบหัวข้อการสร้างแบบสอบถามใน Google Forms (Creating a questionnaire in Google Forms)

การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms

สามารถทำการสร้างแบบสอบถามใน Google Forms ได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

ต้องลงชื่อเข้าใช้งาน Google ก่อน

ลงชื่อเข้าใช้งานด้วย Account Google เช่น gmail หรือ อีเมลบริษัทระบบ Google Workspace

ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”

เข้าไปที่ไดรฟ์ (Drive)

ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”

สร้าง Folder สำหรับเก็บแบบสอบถามที่กำลังจะสร้าง

ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”

การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms

เข้า Folder ที่สำหรับเก็บแบบสอบถาม

ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”

กดที่ปุ่มใหม่ -> เลือก Google Forms -> แบบฟอร์มเปล่า

ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”

ออกแบบ ใส่ข้อมูล และตั้งค่าแบบฟอร์มตามที่ต้องการได้เลย

ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”

การส่ง หรือ แชร์แบบสอบถาม

หลังจากออกแบบเสร็จแล้ว กด “ส่ง” เพื่อแชร์ลิงค์แบบสอบถามได้เลย

ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”
ภาพประกอบบทความ “การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms”

ข้อมูลโดยสรุป

การสร้างแบบสอบถามใน Google Forms ต้องทำการลงชื่อเข้าใช้งานด้วย Account Google ก่อน เช่น gmail หรือ อีเมลบริษัทระบบ Google Workspace เสร็จแล้วทำตามขั้นตอนด้านบนได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อGemini คืออะไร ? (What is Gemini?)

Gemini คืออะไร ?

Gemini คืออะไร ?

Gemini คือ AI ที่พัฒนาโดย Google ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าถึง AI ของ Google ได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการรับความช่วยเหลือในการเขียน วางแผน เรียนรู้ และอีกมากมาย

Gemini ทำงานอย่างไร ?

Gemini จะทำงานโดยการหาคำตอบจากข้อมูลที่มีออยู่แล้ว หรือ ดึงมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น บริการต่าง ๆ ของ Google มาตอบให้กับผู้ใช้งาน

Gemini รองรับได้กี่ภาษา

Gemini สามารถใช้งานได้มากกว่า 40 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อาหรับ, บาฮาซาอินโดนีเซีย, เบงกอล, บัลแกเรีย, จีน (ตัวย่อ/ตัวเต็ม), โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดัตช์, เอสโตเนีย, ฟาร์ซี, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, คุชราต, กรีก, ฮีบรู, ฮินดี, ฮังการี, อิตาลี, กันนาดา, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มาลายาลัม, มราฐี, นอร์เวย์, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, รัสเซีย, เซอร์เบีย, สโลวัก, สโลวีเนีย, สเปน, สวาฮิลี, สวีเดน, ทมิฬ, เตลูกู, ไทย, ตุรกี, ยูเครน, อูรดู และเวียดนาม และยังสามารถสอนให้ Gemini สามารถตอบคำถามในภาษาอื่น ๆ ได้อีกเรื่อย ๆ

ข้อจำกัดในการใช้งาน Gemini

Gemini มีขีดจำกัดการใช้งานที่ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด นั่นหมายความว่า บางครั้งต้องจำกัดจำนวนคำถาม และการสนทนาของผู้ใช้งานในกรอบเวลาที่กำหนด ขีดจำกัดของผู้ใช้งานจะคืนค่ากลับมาอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งผู้ใช้งานจะกลับมาแชทกับ Gemini ได้ในเวลาไม่นาน ทาง Google จะช่วยแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงขีดจำกัดการแชทในระยะเวลาที่กำหนด

สามารถใช้งาน Gemini ในมือถือได้หรือไม่ ?

สามารถใช้งานบน Android ได้โดยดาวน์โหลดแอป Gemini และใช้บน iOS ได้ในแอป Google

ข้อมูลโดยสรุป

Gemini คือ AI ที่พัฒนาโดย Google ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าถึง AI ของ Google ได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการรับความช่วยเหลือในการเขียน วางแผน เรียนรู้ และอีกมากมาย ซึ่งรองรับการใช้งานถึง 40 ภาษา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อเลือกใช้งาน Google Workspace Plan ใดดี ? (Which Google Workspace Plan should I choose?)

เลือกใช้งาน Google Workspace Plan ใดดี ?

Google Workspace เป็นระบบอีเมลบริษัทที่ให้บริการโดย Google ซึ่ง Google Workspace มีให้บริการหลากหลาย Plan บทความนี้มาดูข้อแตกต่างของแต่ละ Plan กัน

Google Workspace มี Plan ใดบ้าง ?

Plan ของ Google Workspace ที่นิยมใช้งานกันในบริษัทมีดังนี้

Google Workspace Business Starter

Google Workspace Business Starter มีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ 30 GB / Account
  • สามารถเข้าประชุมได้พร้อมกัน 100 Account (Google Meet)
  • มีเครื่องมือสำหรับองค์กร เช่น Google DocGoogle SheetGoogle Slides
  • ราคา 2,650 บาท / Account / ปี

Google Workspace Business Standard

Google Workspace Business Standard มีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ 2 TB / Account
  • สามารถเข้าประชุมได้พร้อมกัน 150 Account (Google Meet)
  • มีเครื่องมือสำหรับองค์กร เช่น Google Doc, Google Sheet, Google Slides
  • สามารถเก็บไฟล์บันทึกการประชุมไว้ใน (Google Drive)
  • ราคา 5,600 บาท / Account / ปี

Google Workspace Business Plus

Google Workspace Business Plus มีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ 5 TB / Account
  • สามารถเข้าประชุมได้พร้อมกัน 500 Account (Google Meet)
  • มีเครื่องมือสำหรับองค์กร เช่น Google Doc, Google Sheet, Google Slides
  • สามารถเก็บไฟล์บันทึกการประชุมไว้ใน (Google Drive)
  • ห้องเก็บข้อมูลนิรภัย (Google Vault)
  • ราคา 9,500 บาท / Account / ปี

เลือกใช้งาน Plan ใดดี ?

การเลือกใช้งานควรเลือกใช้งาน Plan ที่ตอบโจทย์กับงบประมาณที่มี และความต้องการใช้งานมากที่สุด

หากต้องการ Google Workspace ราคาถูก สามารถทำอย่างไรบ้าง ?

สามารถใช้งาน Google Workspace ราคาถูกได้โดยการทำ Hybird Email โดยสามารถสอบถามกับทางเทคโนโลยีแลนด์ได้เลย

ข้อมูลโดยสรุป

Google Workspace เป็นระบบอีเมลบริษัทที่มีให้บริการหลากหลาย Plan ซึ่งการเลือกใช้งานควรเลือกใช้งาน Plan ที่ตอบโจทย์กับงบประมาณที่มี และความต้องการใช้งานมากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อการดาวน์เกรด (Downgrade) ใน Google Workspace (Downgrade in Google Workspace)

การดาวน์เกรด (Downgrade) ใน Google Workspace

สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ใช้งาน Google Workspace หรือหลายท่านอาจคุ้นกับชื่อเดิม (G Suite) ชุดบริการบนคลาวด์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันขององค์กร ซึ่งประกอบด้วย Email, Google Drive, Google Meet, Google Docs, Google Sheets และ Google Slides เป็นต้น ซึ่งมีแผนบริการหลักๆอยู่ 4 ประเภทให้เลือกใช้งานตามความต้องการที่เหมาะสมกับบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ คือ Business Starter, Business Standard, Business Plus หรือ Enterprise

ซึ่งบริษัทหรือองค์กรที่ใช้งานมาซักระยะ ในบางกรณีองค์กรอาจมีเหตุผลที่ต้องการ ดาวน์เกรด (Downgrade) แผนบริการอาจจะเพื่อลดต้นทุน หรือ เพื่อปรับให้ตรงกับการใช้งานจริง บทความนี้จะอธิบายถึงกระบวนการและข้อควรระวังเบื้องต้นเมื่อต้องการการดาวน์เกรด Google Workspace

สาเหตุของการดาวน์เกรด Google Workspace

  • แผนบริการที่ใช้งานอยู่เป็นแผนที่เกินกว่าความต้องการใช้งานของผู้ใช้งาน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ฟีเจอร์หรือพื้นที่เก็บข้อมูลที่มากเกินไป
  • ต้องการควบคุมงบประมาณต้องการลดต้นทุนในส่วนนี้ลงเพื่อให้ไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น

เราจะดาวน์เกรด Google Workspace ได้เมื่อไหร่และอย่างไร ?

ในกรณี ดาวน์เกรด Google Workspace ที่เราจะพูดถึงกันในบนความนี้เป็นการดาวน์เกรด Google Workspace Google Workspace กับทางผู้ให้บริการ Google Workspace ที่เป็น Reseller กับทาง Google โดยตรงโดยหากท่านใช้งานกับทาง Reseller อยู่แล้วนั้นท่านสามารถแจ้งกับผู้ให้บริการที่ท่านใช้บริการอยู่โดยขอคำแนะนำจากผู้ให้บริการและแจ้งความต้องการที่ต้องการดาวน์เกรด เพื่อให้ผู้ให้บริการแนะนำแผนบริการขั้นที่รองลงมาจากที่ท่านใช้งานอยู่

ช่วงที่จะทำการดาวน์เกรด Google Workspace คือช่วงระหว่างการต่ออายุระบบซึ่งท่านต้องปรึกษาและเตรียมตัวทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะถึงช่วงต่ออายุระบบเพื่อให้การดาวน์เกรด สำเร็จได้อย่างราบรื่นไม่ส่งผลต่อการใช้งาน

ข้อควรระวังหรือสิ่งที่ต้องกัดการเมื่อต้องการดาวน์เกรด Google Workspace

เมื่อเปลี่ยนแผนบริการลงมายังแผนบริการที่ต่ำกว่าแผนบริการเดิมที่ใช้งานย่อมมีผลกระทบเล็กน้อยที่ผู้ใช้งานต้องทราบร่วมกัน และปรับการใช้งานในบางอย่างเช่น

  • การลดพื้นที่เก็บข้อมูล แผนบริการที่ต่ำลงมาจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลลดลงด้วย ดังนั้นควรตรวจสอบพื้นที่ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกินแผนบริการที่จะเปลี่ยนไปใช้งานเพื่อป้องกันพื้นที่เต็มได้
  • การปรับลดโควต้าผู้ใช้งานให้ลดลงจากแผนบริการเดิมช่วงที่ดาวน์เกรด ต้องปรับโควต้าผู้ใช้งานในตรงตามจำนวนที่จะดาวน์เกรดเพื่อป้องกัยปัญหาที่จะเกิดขึ้นในช่วงดาวน์เกรด
  • ต้องศึกษาความแตกต่างของแผนบริการที่จะดาวน์เกรดไปใช้งานก่อน ว่ามีความแตกต่างอย่างไรกับ แผนบริการปัจจุบัน และจะต้องเสียฟังก์ชันการใช้งานส่วนใดไปบ้างเพื่อแจ้งกับผู้ใช้งานให้ทราบก่อนทำการดาวน์เกรด
  • หากทำการ ดาวน์เกรดไปใช้งานแผนบริการที่ตำกว่าแล้วจะไม่สามารถกลับมาใช้งานแผนบริการปัจจุบันได้อีกในรอบต่ออายุรอบปีนั้นๆ หรือในบางกรณีหากต้องการกลับมาใช้งานแผนบริการเดิมหรือสูงกว่าจะต้องชำระค่าบริการของแผนบริการใหม่เพิ่มเติม
  • การสูญเสียฟีเจอร์ขั้นสูงบางอย่างที่แผนบริการเดิมมี เช่น การบันทึกการประชุมใน Google Meet, ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และฟีเจอร์บางอย่างที่มีในเฉพาะแผนบริการนั้นๆจะไม่มีในแผนที่ต่ำกว่า

ข้อมูลโดยสรุป

การดาวน์เกรด Google Workspace เป็นวิธีที่องค์กรสามารถควบคุมงบประมาณและควบคุมการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนไปในองค์กร ซึ่งสามารถทำได้แต่ควรมีการประเมินผลกระทบอย่างรอบคอบและแจ้งผู้ใช้งานภายในองค์กรให้ครบถ้วนเพื่อเตรียมการก่อนการเปลี่ยนแปลงและเพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานขององค์กรจะไม่สะดุดหรือเกิดปัญหาจากการสูญเสียฟีเจอร์ที่สำคัญบางประการไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อเลือกใช้งาน Windows แบบไหนดี ? (Which type of Windows should I choose to use?)

เลือกใช้งาน Windows แบบไหนดี ?

Windows คือจุดเริ่มต้นในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Laptop ฉนั้นการเลือกใช้งาน Windows ให้ถูกต้องตามจุดประสงค์การใช้งานย่อมตอบโจทย์มากกว่า มาดูวิธีการเลือกใช้งานกัน

Windows คืออะไร ?

Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Microsoft เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาให้เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ Laptop ได้อย่างสะดวกขึ้น โดย Windows 11 เป็นระบบปฏิบัติการล่าสุดที่มีให้บริการอยู่ขณะนี้

Windows มีแบบใดบ้าง

Windows ลิขสิทธิ์แท้มีหลายแบบให้เลือกใช้งานดังนี้

  • Home/Family คือ สำหรับใช้ภายในครัวเรือน และครอบครัว
  • Education คือ สำหรับใช้เพื่อการศึกษา หรือ ในสถานศึกษา
  • Non-Profit คือ สำหรับหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร
  • Commercial คือ สำหรับใช้เพื่อการพาณิชย์

เลือกใช้งาน Windows แบบไหนดี ?

การเลือกใช้งาน Windows ควรเลือกให้ตรงตามสิทธิ์ของ Windows และลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง

ซื้อ Windows ลิขสิทธิ์แท้ได้อย่างไร ?

สามารถซื้อ Windows ลิขสิทธิ์แท้ราคาถูกได้จากตัวแทนจำหน่ายของ Microsoft

Key ของ Window ลิขสิทธิ์แท้มีจำหน่ายแบบใดบ้าง ?

Windows ลิขสิทธิ์แท้มีจำหน่าย Key หลายรูปแบบ ดังนี้

  • FPP คือ แบบที่จำหน่ายเป็นกล่องที่มาพร้อมกับ CD, Flash drive และ CD Key ที่เห็นกันตามห้างสรรพสินค้า
  • OEM คือ แบบที่แถมมากับตอนซื้อเครื่อง จะราคาถูกเพราะราคารวมกับราคาเครื่องที่เราซื้อมาไปแล้ว
  • CSP คือ แบบที่ Login เข้าไป เพื่อไปนำ Key จาก Web Microsoft โดยตรง
  • Volume Licensing คือ แบบที่ขายมากกว่า 5 License สำหรับองค์กร

จะรู้ได้อย่างไรว่า Windows ที่ใช้งานนั้นเป็นลิขสิทธิ์แท้ ?

Windows ลิขสิทธิ์แท้แต่ละแบบจะมีวิธียืนยันว่าเป็นลิขสิทธิ์แท้ ดังนี้

  • FPP คือ กล่องที่ซื้อมา, Sticker หลังกล่อง, ใบเสร็จรับเงิน
  • OEM คือ Sticker ที่ติดมากับเครื่อง, ใบเสร็จรับเงิน
  • CSP คือ Product Key, ใบเสร็จรับเงิน
  • Volume Licensing คือ เอกสารตอนที่ซื้อมา

ดังนั้นหากอยากทราบว่า Windows ที่ใช้อยู่เป็นของแท้หรือไม่ สิ่งง่าย ๆ คือ สามารถยืนยันสิทธิ์ตามข้อมูลด้านบนได้หรือไม่ หากมีหน่วยงานภายนอกมาตรวจสอบ หรือการสั่งซื้อสินค้านั้นได้มีข้อมูลตามข้อมูลด้านบนครบถ้วนหรือไม่

ข้อมูลโดยสรุป

การเลือกใช้งาน Windows ควรเลือกให้ตรงตามสิทธิ์ของ Windows และลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง ซึ่งการจะรู้ได้อย่างไรว่า Windows ที่ใช้งานนั้นเป็นลิขสิทธิ์แท้ ต้องสามารถยืนยันสิทธิ์ตามข้อมูลด้านบนได้หรือไม่ หากมีหน่วยงานภายนอกมาตรวจสอบ หรือการสั่งซื้อสินค้านั้นได้มีข้อมูลตามข้อมูลด้านบนครบถ้วนหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อWhitelist/Blacklist Email ผู้ส่ง (Sender) Google Workspace (Whitelist/Blacklist Email Sender (Sender) Google Workspace)

Whitelist/Blacklist Email ผู้ส่ง (Sender) Google Workspace

ในระบบอีเมลของ Google Workspace การจัดการกับผู้ส่งอีเมลเป็นสิ่งสำคัญ โดยถึงระบบจะมีการกรอกอีเมลและป้องกันไว้อยู่แล้วแต่อาจมีอีเมลจากผู้ไม่หวังดีบางฉบับที่ยังส่งเข้ามาได้และอาจมีอีเมลจากผู้ติดต่อจริงบางฉบับที่ไม่สามารถส่งเข้ามาได้ การได้รับอีเมลขยะ (Spam) หรืออีเมลฟิชชิง (Phishing) สามารถก่อให้เกิดความไม่สะดวกและอาจทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจได้ การจัดการ Whitelist และ Blacklist ผู้ส่งอีเมลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาเหล่านี้

  • Whitelist Sender ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าอีเมลจากผู้ส่งที่เชื่อถือได้จะไม่ถูกบล็อกหรือถูกส่งไปยังโฟลเดอร์สแปม / Junk
  • Blacklist Sender จะช่วยบล็อกอีเมลจากผู้ส่งที่ไม่พึงประสงค์ หรือผู้ที่มีประวัติการส่งอีเมลที่เป็นอันตราย

วิธีการ Whitelist ผู้ส่งใน Google Workspace

1.เข้าสู่ระบบ Google Admin Console ที่ admin.google.com

2.ไปที่ Apps > Google Workspace > Gmail > Spam, Phishing, and Malware

3.เลือก Blocked senders จากนั้นคลิก Configure

4. หัวข้อที่ 3.Options > Create or edit list

5. กด Add Address List

6.ตั้งชื่อ Address List > กด Add Adress และ เพิ่มรายชื่ออีเมลที่ต้องการ Whitelist จากนั้นกด Save

7.กลับมาที่หัวข้อ 3.Options > กด Use existing list > จากนั้นเลือก Address Listที่สร้างไว้

8. กด Save


วิธีการ Blacklist ผู้ส่งใน Google Workspace

1.สามารถทำตามขั้นตามการ Whitelist ได้เมื่อถึงขั้นตอนที่ 4 > เลือกหัวข้อที่ 1 > Create or edit list

2. กด Add Address List

3. ตั้งชื่อ Address List > กด Add Adress และ เพิ่มรายชื่ออีเมลที่ต้องการ Whitelist จากนั้นกด Save

4. กลับมาที่ 1. ป้อนคำอธิบายสั้นๆ > กด Use existing list > จากนั้นเลือก Address List ที่สร้างไว้ > กด Save


ข้อมูลโดยสรุป

การจัดการ Whitelist และ Blacklist ผู้ส่งอีเมลใน Google Workspace เป็นวิธีที่เพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัย และ ลดปริมาณอีเมลขยะในกล่องจดหมาย การ Whitelist ช่วยให้มั่นใจว่าอีเมลสำคัญจะถูกส่งถึงผู้รับ ขณะที่การ Blacklist ช่วยป้องกันอีเมลที่ไม่พึงประสงค์และอันตราย ทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณา การจัดการที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการสื่อสารผ่านอีเมลภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อวิธีนำอีเมลจาก Email Google Workspace เข้าไว้ใน Gmail  (How to import emails from Google Workspace Email into Gmail)

วิธีนำอีเมลจาก Email Google Workspace เข้าไว้ใน Gmail 

สำหรับการดึงข้อมูลอีเมลจากระบบอีเมลอย่าง Google Workspace หรือระบบอื่น ๆ ที่รองรับการทำงานของ POP3 มาเก็บไว้ยัง Gmail นั้นสามารถทำได้ดังนี้

วิธีการตั้งค่าเก็บข้อมูล

  • เริ่มต้นด้วยการ Login อีเมลเข้าไปยัง Gmail ที่ต้องการใช้เก็บข้อมูลและเข้าที่การตั้งค่า รูปเฟืองขวาบนของอีเมลนั้นๆ

  • เลือก Accounts and import และเข้าที่ ส่วน Check mail from other account กด Add a mail account เพื่อเริ่มขั้นตอน

  • จะมีหน้าต่างสีเหลือง ให้กรอกชื่ออีเมลที่ต้องการเพิ่ม กรอกเรียบร้อยแล้วกด Next

  • เลือก Import emails from my other account (POP3)

  • กรอกข้อมูล ผู้ใช้งาน , รหัสผ่าน , เซอร์ฟเวอร์ POP , พอร์ต ของระบบอีเมลที่อีเมลนั้นใช้งานอยู่
    และเลือก ติ๊ก ถูก ในช่องที่ต้องการให้ Gmail ดำเนินการ จากนั้นกด Add account

เมื่อทำการเพิ่มเรียบร้อยแล้วอีเมลจาก Google Workspace หรือระบบนั้น ๆ จะถูกดึงมาเก็บไว้ยัง Gmail ใน labels หรือ ป้ายกำกับ ตามชื่อที่กำหนดไว้ตามภาพด้านล่าง

ข้อมูลโดยสรุป

สำหรับวิธีการดึงข้อมูลอีเมลจากระบบอีเมลอย่าง Google Workspace หรือระบบอื่น ๆ ที่รองรับการทำงานของ POP3 มาเก็บไว้ยัง Gmail นั้นสามารถทำได้ตามวิธีการตามด้านบน ซึ่งหลักการของวิธีนี้จะคล้ายกันกับ การนำอีเมลไปแอด POP3 ใช้งานผ่านโปรแกรมตรวจสอบอีเมล เช่น Outlook โดยการดึงข้อมูลขาเข้าของอีเมลมาเก็บไว้ยัง Gmail เพื่อใช้เป็นการ Black up ข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องตรวจสอบอีเมลที่ดึงมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะทำการลบข้อมูลต้นฉบับออกจะเป็นการดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบบทความสาเหตุที่ไม่พบอีเมลที่ส่งเข้ามาใน Inbox ของ GoogleWorkspace(Gmail) (The reason why emails sent into the Inbox of GoogleWorkspace (Gmail) cannot be found)

สาเหตุที่ไม่พบอีเมลที่ส่งเข้ามาใน Inbox ของ GoogleWorkspace(Gmail)

การใช้งานอีเมลอาจมีบางครั้งที่ผู้ติดต่อท่านแจ้งว่ามีการส่งอีเมลเข้ามาแล้ว แต่ท่านไม่พบอีเมลจากผู้ติดต่อดังกล่าว ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะทำให้ท่านพลาดการติดต่ออาจผู้ติดต่อทางธุรกิจได้ โดยในบนความนี้เราจะมาหาสาเหตุและวืธีว่าสามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

สาเหตุที่ไม่พบอีเมลจากผู้ติดต่อ ใน Inbox

สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัยมาก ๆ ซึ่งที่เราสามารถตรวจสอบได้เบื้องต้นได้ด้านตนเองมีดังนี้

1. การกรองสแปม

อีเมลอาจถูกกรองว่าเป็นสแปมและย้ายไปอยู่ในโฟลเดอร์สแปม/Junkโดยอัตโนมัติ ตรวจสอบโฟลเดอร์สแปมเพื่อดูว่าอีเมลที่คุณรออยู่ที่นั่นหรือไม่ ตรวจสอบที่หัวข้อ Spam ตามในภาพด้านล่าง


2. การตั้งค่าโฟลเดอร์หรือฟิลเตอร์

ท่านอาจมีการตั้งค่าฟิลเตอร์ที่ทำให้อีเมลถูกย้ายไป labels หรือ ป้ายกำกับ แทนที่จะเข้ามาใน Inbox ตรวจสอบการตั้งค่าฟิลเตอร์ใน Gmail ตัวอย่างในภาพด้านล่างมีการตั้งค่าให้แยกอีเมลไปไว้ในป้างกำกับที่กำหนดไว้


3. การตั้งค่าการจัดหมวดหมู่

Gmail มีการจัดหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น หลัก โซเซียล โปรโมชั่น อัปเดต อีเมลอาจถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ที่ไม่ใช่หน้าหลัก ทำให้คุณไม่เห็นใน Inbox ลองคลิกตรวจสอบตามหมวดหมู่ดูเพิ่มเติมในกรอบตามภาพด้านล่าง

4. การบล็อกหรือการตั้งค่าด้านความปลอดภัย

หากผู้ส่งอีเมลถูกบล็อกหรือโดเมนของพวกเขาถูกตั้งค่าด้านความปลอดภัย อีเมลอาจไม่ถูกส่งไปยัง Inbox ของท่าน เข้าไปตรวจสอบการตัวกรองและที่ถูกบล็อกไว้ ตามภาพด้านล่าง ตัวอย่างในภาพคือการตั้งค่าว่าฉบับที่มีคำว่า “เงินกู้” ให้ทำการลบทิ้ง หรืออาจมีการตั้งค่า บล็อกผู้ส่ง หรือ โดเมนผู้ส่งนั้น ๆไว้

5.การเก็บอีเมลใน labels หรือ ป้ายกำกับอื่นๆ

การย้ายอีเมลไปเก็บไว้ใน labels หรือ ป้ายกำกับอื่นๆ ที่มีการสร้างไว้โดยข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นอีเมลจากผู้ส่งนี้ให้ไว้ใน labels หรือ ป้ายกำกับ ชื่อนี้เป็นต้น ตรวจสอบได้ที่ด้านล่าง ซ้อยมือที่เมนู labels หรือ ป้ายกำกับ ตามภาพด้านล่าง

ข้อมูลโดยสรุป

สาเหตุหลัก ๆ ของการไม่พบอีเมลใน Inbox นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งการตรวจสอบสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้โดยวิธีตามด้านบน อย่างไรก็ตามการที่ไม่พบอีเมลนั้นยังเกิดได้จากหลายสาเหตุมากกว่าที่มีการยกตัวอย่างมาข้างต้น ซึ่งการตรวจสอบจะละเอียดและยากขึ้นมากกว่าที่ผู้ใช้งานทั่วไปจะสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ใช้งาน GoogleWorkspace อยู่แล้วนั้นสามารถแจ้งปัญหาผู้ให้บริการระบบอีเมลของท่านตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาให้ท่านได้อย่างถูกต้องตรงจุดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีแลนด์คือหนึ่งในผู้ให้บริการอีเมลบริษัทระบบ GoogleWorkspace สามารถสอบถามการทำอีเมลบริษัทระบบ GoogleWorkspace ได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ



ภาพประกอบหัวข้อGoogle Workspace ได้พื้นที่เก็บข้อมูลเท่าใด และมีพื้นที่ขนาดเท่าใดให้เลือกใช้บ้าง ? (How much storage does Google Workspace get? And how much space is there to choose from?)

Google Workspace ได้พื้นที่เก็บข้อมูลเท่าใด และมีพื้นที่ขนาดเท่าใดให้เลือกใช้บ้าง ?

Google Workspace มีการจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลให้แตกต่างกันไปตามแผนบริการที่มีให้ลูกค้าเลือกใช้บริการ โดยทั่วไป Google Workspace จะมีแผนบริการหลัก ๆ ดังนี้

แผนบริการ Google Workspace
พื้นที่เก็บข้อมูลอีเมลและ Drive /User
Google Workspace Business Starter
30 GB
Google Workspace Business Standard
2 TB
Google Workspace Business Plus
5 TB
Google Workspace Enterprise
5 TB
แผนบริการ Google Workspace


ตรวจสอบว่าใช้งานแผนบริการใดของ Google Workspace อยู่

ซึ่งสำหรับท่านที่ใช้งาน Google Workspace แล้วไม่ทราบว่าบริษัทของตนใช้งาน แผนบริการใดอยู่สามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆโดยไม่ต้องผ่านผู้ดูและระบบ(Admin)ดังนี้

  • เข้าสู่ระบบอีเมล Google Workspace ของตนเอง
  • ตรวจสอบพื้นที่ของ Google Drive ว่ามีพื้นที่ตรงกับ แผนบริการเช่น 30 GB เท่ากับท่านใช้งาน Google Workspace Business Starter

กรณีต้องการเพิ่มพื้นที่สำหรับ Google Workspace

ในปัจจุบันไม่สามารถซื้อพื้นที่เพิ่มเติมจากแผนบริการที่ใช้งานอยู่ได้แล้ว โดยหากต้องการเพิ่มพื้นที่จากแผนบริการเดิมจะต้องทำการเปลี่ยนไปใช้งานแผนบริการขั้นถัดไปที่จะได้พื้นที่เพิ่มเติมโดยต้องเปลี่ยนทุก User ในโดเมนนั้นๆ ไม่สามารถเปลี่ยนบาง User ได้

ข้อมูลโดยสรุป

สำหรับแผนบริการของทาง Google Workspace มีให้เลือกใช้บริการหลายแบบทำให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้ตามความต้องการของธุรกิจหรือองค์กรของตนเองได้อย่างเหมาะสมโดนท่านที่ไม่ทราบว่าตนใช้งานแผนบริการใดอยู่สามารถตรวจสอบได้ด้านตนเองโดยวิธีการที่แนะนำด้านบน ซึ่งการปรับเพิ่มพื้นที่ในปัจจุบันอาจไม่ยืดยุ่นมากนั้นเนื่องจากต้องปรับทั้งหมดในโดเมนนั้น ๆจึงทำให้มีค่าบริการ Google Workspaceที่สูงขึ้นมากจากเดิมแต่ก็แลกมาด้วยพื้นที่ที่มากขึ้นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อถ้าเผลอลบข้อมูล Google Drive ไปแล้วจะกู้คืนได้ไหม ? (If I accidentally delete my Google Drive data, can I recover it?)

ถ้าเผลอลบข้อมูล Google Drive ไปแล้วจะกู้คืนได้ไหม ?

สำหรับผู้ใช้งาน Google workspace การเก็บข้อมูลใน Google Drive เป็นวิธีที่สะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานระบบอีเมลองค์กร ซึ่งหากท่านเผลอลบข้อมูลที่สำคัญไป จะทำให้เกินความกังวลว่าไฟล์เหล่านั้นจะสูญหายไปตลอดกาลหรือไม่ ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นและกู้คืนข้อมูลใน Google Drive ที่ถูกลบไปแล้วได้หรือไม่และทำได้อย่างไร

ตรวจสอบถังขยะ (Trash)

ในกรณีลบไฟล์ออกจากใน Google Drive แล้วนั้นข้อมูลจะถูกระบบย้ายไปเก้บไว้ยัง ถังขยะ (Trash) ก่อนโดยจะอยู่ที่นั่นประมาณ 30 วัน นับตั้งแต่วันที่กดลบข้อมูล โดยหากยังพบข้อมูลอยู่ใน ถังขยะ (Trash) นั้นแปลว่ายังสามารถกู้คืนข้อมูลนั้นๆ กลับมายัง Google Drive ได้โดยสามารถดำเนินการได้ตามวิธีด้านล่าง

  • เข้าสู่ระบบ Google Drive ผ่านเบราว์เซอร์
  • คลิกที่ “ถังขยะ” หรือ “Trash” ทางด้านซ้ายมือ
  • เลือกไฟล์ที่ต้องการกู้คืน
  • คลิกขวาที่ไฟล์ที่ต้องการแล้วเลือก “กู้คืน” หรือ “Restore”

กรณีไม่พบข้อมูลในถังขยะ (Trash) หรือลบออกไปนานกว่า 30 วันแล้ว

หากข้อมูลถูกลบไปนานกว่า 30 วันและไม่สามารถกู้คืนจากถังขยะ ท่านอาจต้องลองติดต่อ Google Support เพื่อขอความช่วยเหลือจากทาง Google โดยตรงที่หน้า Admin ของ User ที่มีสิทธิ Admin ของระบบ

ข้อมูลโดยสรุป

การกู้คืนข้อมูลใน Google Drive ที่ถูกลบไปแล้วสามารถทำได้หากดำเนินการอย่างรวดเร็วและถูกวิธี โดยขั้นตอนแรกคือการตรวจสอบถังขยะ หากไฟล์ยังอยู่ในถังขยะสามารถกู้คืนได้ทันที หากไม่พบไฟล์ในถังขยะแล้วหรือหากข้อมูลถูกลบไปนานกว่า 30 วัน สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลระบบ Google workspace ที่ท่านใช้งานอยู่ เช่น บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด แนะนำการติดต่อ Google Support เป็นทางเลือกในการสอบถามวิธีการและกู้คืนข้อมูล

อย่างไรก็ตามการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูลในอนาคตได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ