การจัดรูปแบบ Rich Text ในชื่อและคำอธิบายของ Google Forms

นอกจากตัวเลือกใหม่สำหรับการจัดรูปแบบแบบอักษรแล้ว ขณะนี้การจัดรูปแบบ Rich Text ยังพร้อมใช้งานใน Google ฟอร์ม ซึ่งช่วยให้ปรับแต่งและเพิ่มการเน้นให้กับแบบฟอร์มของผู้ใช้งานได้ คุณลักษณะที่มีการร้องขอสูงนี้ช่วยให้สามารถใช้ตัวหนา ขีดเส้นใต้ ตัวเอียง ไฮเปอร์ลิงก์ และรายการในชื่อเรื่อง ชื่อคำถาม และคำอธิบาย

Rich text formatting in Google Forms titles and descriptions_v2

เริ่มต้น
ผู้ดูแลระบบ: ไม่มีการควบคุมของผู้ดูแลระบบสำหรับคุณลักษณะนี้
ผู้ใช้ปลายทาง: ในการเข้าถึงการจัดรูปแบบ Rich Text ให้สร้างแบบฟอร์ม > เพิ่มหรือแก้ไขข้อความ > เลือกตัวเลือกการจัดรูปแบบที่ต้องการ ไปที่ศูนย์ช่วยเหลือเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดรูปแบบข้อความในแบบฟอร์ม

Cr.https://workspaceupdates.googleblog.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่องทางการตอบโต้ใหม่สำหรับ Google Drive, Docs, Sheets, Slides, และ Forms

การสร้าง Google Workspace form ในมือถือ

Google Workspace แสดงพื้นที่แบบใหม่แล้ว

แชร์ Keep ไปยัง App อื่นๆ

แชร์ลิงก์โปรไฟล์ผ่าน Contacts

การป้องกันข้อมูลรั่วไหลสำหรับไดรฟ์ช่วยปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเมื่อผู้ใช้อัปโหลดไฟล์ไปยัง Google ฟอร์มภายนอก

ในเดือนเมษายน ได้ประกาศเปิดตัวเบต้าที่อนุญาตให้ผู้ใช้ตอบสนองต่อแบบฟอร์มภายนอกที่มีคำถามเกี่ยวกับการอัปโหลดไฟล์ ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและเป็นความลับฟีเจอร์นี้พร้อมใช้งานโดยทั่วไปแล้ว และจะใช้การป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP) ที่มีอยู่ของโดเมนสำหรับนโยบายของไดรฟ์กับไฟล์ที่ผู้ใช้ส่งไปยัง Google ฟอร์ม โดยไม่ต้องสร้างกฎใหม่หรืออัปเดตกฎที่มีอยู่

dlp-file-uploads-to-external-forms

  • ผู้ดูแลระบบ:
    กฎ DLP สำหรับไดรฟ์ที่กำหนดไว้สำหรับโดเมนจะนำไปใช้กับไฟล์ที่ส่งไปยังคำถามเกี่ยวกับการอัปโหลดไฟล์ใน Google ฟอร์มภายนอกโดเมน
  • หากไม่ได้ใช้ DLP สำหรับไดรฟ์ สามารถสร้างกฎ DLP ที่ระดับโดเมน OU หรือกลุ่มในคอนโซลผู้ดูแลระบบในส่วนความปลอดภัย > การปกป้องข้อมูล สามารถใช้การบล็อก เตือน หรือตรวจสอบได้ ไปที่ศูนย์ช่วยเหลือเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดใช้ Workspace DLP สำหรับองค์กร
  • ผู้ใช้ปลายทาง:
    ผู้ใช้ปลายทางสามารถตอบกลับแบบฟอร์มได้ตามปกติ แต่ขณะนี้สามารถตอบสนองต่อแบบฟอร์มภายนอกโดเมนของตนได้ รวมถึงแบบฟอร์มที่มีคำถามเกี่ยวกับการอัปโหลดไฟล์
  • หากแบบฟอร์มละเมิดกฎ DLP สำหรับไดรฟ์สำหรับโดเมน ผู้ใช้ปลายทางอาจเห็นคำเตือนหรือถูกบล็อกไม่ให้ส่ง

อัตราการเปิดตัว
โดเมนที่เผยแพร่อย่างรวดเร็ว: การเปิดตัวทีละน้อย (สูงสุด 15 วันสำหรับการมองเห็นคุณลักษณะ) เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2022

โดเมนการเผยแพร่ตามกำหนดการ: การเปิดตัวทีละน้อย (สูงสุด 15 วันสำหรับการมองเห็นคุณลักษณะ) เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2022

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค้นหาเนื้อหา Google Meet ใน Google Drive

การแสดงภาพซ้อนภาพสำหรับ Google Meet ใน Chome

Google Apps ฟรีถูกยกเลิกให้บริการ 1 กรกฎาคม 2565 นี้

Workspace Hybrid มีข้อดีอย่างไร

รับการแจ้งเตือนของ Drive ในการแชท

การสร้าง Google Workspace form ในมือถือ

วิธีการสร้าง google form ในมือถือ มีวิธีดังนี้

1.คลิกที่ ไปที่ Google ฟอร์ม

 

2.ใส่ User Password เสร็จแล้ว คลิก ถัดไป

3.จะเจอหน้าที่เป็นฟอร์ม

 

 

  1. ตั้งชื่อฟอร์ม
  2. ตั้งชื่อหัวข้อฟอร์ม
  3. ใส่คำอธิบายฟอร์ม

4.ใส่คำถาม ที่ต้องการถาม

 

5.เลือกตัวเลือกรูปแบบของคำถาม

 

 

 

 

 

เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างฟอร์มในมือถือเองได้

 

TECHNOLOGY LAND CO., LTD.

ตัวแทน Google Workspace อย่างเป็นทางการ เทคโนโลยีแลนด์

ข้อมูล Google from จะเก็บไว้ที่ไหน

รู้หรือไม่ เเบบ form ที่เราสร้างจาก Google Form เก็บข้อมูล from เราไว้ที่ไหน

google form จะเก็บข้อมูลเเบบฟอร์ม เราไว้ที่ Google dive โดยเราสามารถสร้าง โฟลเดอร์ใหม่ หรือ เเก้ไข,ลบ ได้ ดังนี้

วิธีดูที่จัดเก็บข้อมูลของ google form

เมื่อเราต้องการดูว่าข้อมูลของเรา ที่สร้าง Form ไว้ จะเก็บไว้อยู่ที่ไหน มีวิธีดังนี้

  1. คลิกที่ไอคอน
  2. คลิกที่ ไดรฟ์

นี้คือ หน้าที่แสดง โฟลเดอร์ ข้อมูลฟอร์มของเรา

เมื่อคลิกขวาที่ ไดรฟ์ของฉัน จะมีฟังก์ชันให้เลือกว่าเราต้องการ สร้าง หรือ อัปโหลดก็ได้ตามที่เราต้องการ

 

เรายังสามารถ ดูเเบบฟอร์ม หรือเเก้ไขชื่อ ลบฟอร์ม ของเราได้ หรือใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ได้ดังนี้

ให้คลิกขวา ไฟล์ที่ต้องการ

จบขั้นตอนการดู ฟอร์ม ข้อมูลของเราว่าเก็บไว้ที่ไหน

 

 

 

TECHNOLOGY LAND CO., LTD.

Technology Land ผู้จัดจำหน่าย Google Workspace อย่างเป็นทางการ

 

 

วิธีการใช้งาน Google Form

Google Form คือ การสร้างเเบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ขั้นตอนการใช้งาน Google Form ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนเเรก ให้เราทำการสมัครสมาชิกบัญชี Google โดยสามารถกดได้ที่นี้ https://accounts.google.com

เมื่อสมัครสมาชิกบัญชี Google เรียบร้อยเเล้ว ให้ลงชื่อเข้าใช้งาน ให้คลิกไอคอนขวามือ เเล้วเลือกที่ ฟอร์ม

จากนั้นจะเจอหน้าสร้างเเบบฟอร์ม จะมีเเบบฟอร์มสำเร็จรูปต่างๆ ให้เราเลือกใช้งานมากมาย หรือเราสามารถสร้างเเบบฟอร์มเองได้โดยคลิกที่ ดังรูปต่อไปนี้

ต่อมาจะเป็นขั้นตอนการเเนะนำ เเละ เครื่องมือต่างๆ

  1. ตั้งชื่อ Form
  2. ตั้งชื่อรองของ Form
  3. อธิบายแบบ Form

เลือกประเภทคำตอบ ตามที่ต้องการ

  1. ชื่อ – นามสกุล
  2. คำถามปลายเปิด
  3. เลือกตอบได้เพียง 1 คำตอบ
  4. เลือกตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ
  5. Drop down list เลือกได้ 1 คำตอบ
  6. อัพโหลดไฟล์
  7. แบบให้คะแนน
  8. แบบเลือก วัน/เวลา – วันที่/เวลา

เเล้วเรายังสามารถ ใช้เครื่องมือต่างๆ หรือ เลือกธีม เปลี่ยนสี ได้ดังนี้

  1. เลือก Theme รูปแบบที่ต้องการ
  2. เพิ่มคำถาม
  3. เพิ่มชื่อ หรือ เพิ่มหัวข้อ
  4. เพิ่มรูปภาพ
  5. เพิ่มวิดีโอ
  6. เพิ่มส่วน / แบ่งหน้า

เมื่อได้ ธีม หรือ ข้อมูลเเบบฟอร์มที่เราต้องการเเล้ว เราสามารถกด Preview โดยคลิกที่ ไอคอนรูปตา เพื่อดูหน้าเเบบฟอร์มของผู้ทำเเบบทดสอบได้ ดังรูปนี้

เมื่อคลิกที่ รูปตา แล้ว จะแสดงหน้า ที่เป็นผู้ทำแบบสอบถามทำ ดังรูปนี้

เป็นอันเสร็จสิ้น ขั้นตอน การใช้งานสร้าง Google Form ทุกๆคน สามารถนำไปใช้งานได้ ในทุกๆเเบบฟอร์มตามที่เราต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย อีกด้วย

 

TECHNOLOGY LAND CO., LTD.

ตัวแทน Google Workspace อย่างเป็นทางการ เทคโนโลยีแลนด์

Google Form สำหรับ Google Workspace คืออะไร

Google Form คืออะไร

Google Form เป็นส่วนหนึ่งในบริการของกลุ่ม Google Docs ที่ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ การทำแบบฟอร์มลงทะเบียน และการลงคะแนนเสียง เป็นต้น

การใช้งานกูเกิ้ลฟอร์มนั้น ผู้ใช้งานหรือผู้ที่จะสร้างแบบฟอร์มจะต้องมีบัญชีของ Gmail หรือ Account ของ Google เสียก่อน ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานสร้างแบบฟอร์มผ่าน Web Browser ได้เลยโดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ ทั้งสิ้น

 

ข้อดีของการทำแบบสอบถามออนไลน์

  • กระจายข้อมูลได้ทั่วถึง และสามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า: การที่เราทำแบบสอบถามออนไลน์จะช่วยให้มีโอกาสได้ผู้เข้าร่วมแบบสอบถามที่ทั่วถึงกว่า ไม่ใช่แค่เพียงในพื้นที่ที่เราสามารถเดินแจกแบบสอบถามเท่านั้น อีกทั้งเรายังส่งแบบสอบถามให้ผู้ที่อยู่ภูมิภาคอื่นไปจนถึงผู้ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศสามารถทำแบบสอบถามให้เราได้ในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย
  • ประหยัดงบประมาณ: การพิมพ์แบบสอบถามในรูปแบบกระดาษย่อมมีค่าใช้จ่าย และแน่นอนว่า…ยิ่งเยอะยิ่งเห็นความแตกต่าง เพราะฉนั้นการทำแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์จะประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก
  • สามารถยกตัวอย่างให้เห็นรูปธรรมมากขึ้น: หากเราต้องการให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เห็นสิ่งที่เราต้องการจะสื่อมากขึ้น เช่น หากทำแบบประเมิณผลงานบางอย่างที่เป็นสิ่งของ ก็สามารถใส่ภาพหรือวิดีโอของสิ่งของนั้นๆ ลงไปในแบบสอบถามออนไลน์ได้เลย
  • ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ: หากข้อมูลมีความสำคัญ การจัดเก็บเอกสารก็ยิ่งมีสำคัญตามไปด้วย การที่เอกสารข้อมูลถูกจัดอย่างเป็นระเบียบในบัญชี Google จะยิ่งง่ายต่อการค้นหา
  • สามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้สะดวก: เราสามารถนำผลลัพธ์จากการทำแบบสอบถามออนไลน์ไปใช้ต่อได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพราะเราสามารถ Export ข้อมูลผลลัพธ์ออกมาเป็นไฟล์เพื่อนำไปใช้ต่อได้เลย
  • นอกจากเป็นแบบสอบถามยังใช้ทำการสอบย่อยแบบออนไลน์ได้อีกด้วย: เราสามารถใช้ Google Form เพื่อสร้างข้อสอบสำหรับการสอบย่อยได้ โดยที่ผู้ทำข้อสอบสามารถตรวจคำตอบได้ทันทีอีกด้วย

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • ระวังการลืมลงชื่อออก(Log-out) เมื่อทำการลงชื่อเข้าใช้(Log-in) ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สาธารณะ: เนื่องจาก Google Form ค่อนข้างสะดวกในการเช็คข้อมูล ซึ่งอาจทำให้บางครั้งเราต้องการเข้าไปดูความคืบหน้าว่าแบบสอบถามของเรามีคนตอบมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเราอาจจะใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สาธารณะแล้วอาจลืมลงชื่อออก(Log-out)ได้ แล้วถ้าหากท่านใดที่ใช้อีเมลหลักเป็นบัญชีเดียวกันแล้วด้วยนั้น ให้พึงระวังไว้เสมอว่าบัญชีที่ใช้ควรเก็บรักษาให้ดี เพราะหากมีใครเข้าถึงบัญชีจากการที่เราเปิดดูฟอร์มทิ้งไว้ก็เท่ากับเค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลอีเมลของเราได้เช่นกัน

สร้างฟอร์มเก็บข้อมูล

ขั้นตอนที่ 1

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ https://goo.gl/hTn9FK (หรือพิมพ์ค้นหาใน Google ว่า “Google Form“)
  • คลิกที่  Google ฟอร์ม

  • จากนั้นคลิกที่ปุ่มวงกลมสีแดง เพื่อเริ่มสร้างฟอร์มใหม่

  • หลังจากเข้าสู่หน้าต่างแก้ไขฟอร์ม ให้ตั้งชื่อฟอร์มพร้อมคำอธิบาย เช่น
    • ลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมนาวิชาการ ครั้งที่ 1 (ชื่อฟอร์ม)
    • วันที่ 24 ตุลาคม 2559 เวลา 8.30 – 16.30 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ (คำอธิบาย)

หลังจากพิมพ์ชื่อฟอร์มและคำอธิบายฟอร์มเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเป็นการสร้างรายการสำหรับเก็บข้อมูลผู้ลงทะเบียน ในตัวอย่างที่ผมได้สร้างไว้จะใช้รายการสำหรับเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปไป เช่น

  • คำนำหน้านาม (รายการแบบ : เลื่อนลง)
  • ชื่อ (รายการแบบ : คำตอบสั้นๆ)
  • นามสกุล (รายการแบบ : คำตอบสั้นๆ)
  • เพศ (รายการแบบ : ตัวเลือก)
  • อีเมล์ (รายการแบบ : คำตอบสั้นๆ)
  • เบอร์โทรศัพท์ (รายการแบบ : คำตอบสั้นๆ)
  • ในตัวอย่างรูปภาพด้านล่าง เป็นการเก็บข้อมูล “คำนำหน้านาม
    1. ใช้รายการที่มีชื่อว่า “เลื่อนลง” เป็นเครื่องมือในเก็บข้อมูลคำนำหน้านาม โดยจะเป็นในลักษณะของ Dropdown list เลื่อนลงมาให้เลือก
    2. กรอกหัวข้อคำถามเพื่อให้ผู้กรอกทราบ เช่น “คำนำหน้านาม
    3. สร้างตัวเลือกคำถาม เช่น นาย, นางสาว, นาง
    4. เป็นการกำหนดหัวข้อคำถาม คำถามนั้นๆ จำเป็นต้องตอบหรือไม่

  • หลังจากสร้างรายการสำหรับเก็บข้อมูล “คำนำหน้านาม” รายการแรกเสร็จแล้ว เราลองมาดูตัวอย่างหน้าตาฟอร์มของเรากันก่อนดีกว่า โดยคลิกที่รูป “ดวงตา” มุมขวาบน เพื่อดูตัวอย่างหน้าฟอร์ม

  • ในตัวอย่างของฟอร์ม เราจะสังเกตุเห็น
    1. ข้อความที่ปรากฏจากชื่อฟอร์มและคำอธิบายฟอร์ม แสดงอยู่ด้านบนสุดของฟอร์ม
    2. รายการที่สำหรับเก็บข้อมูล “คำนำหน้านาม” ที่ได้สร้างขึ้นจากขั้นตอนก่อนหน้านี้

  • จากนั้นให้ย้อนกลับไปยังหน้าแก้ไขฟอร์ม สร้างรายการสำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ยังไม่ได้สร้างขึ้น เช่น ชื่อ, นามสกุล, เพศ, อีเมล์, เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
  • โดยการสร้างรายการใหม่ ให้คลิกที่รูปเครื่องหมายบวกด้านขวามือ

เมื่อได้รายการใหม่ขึ้นมาแล้ว ให้พิมพ์หัวข้อคำถามถัดไปได้เลย เช่น ชื่อ

  • โดยเลือกรายการเป็นแบบ  คำตอบสั้นๆ
  • หากต้องการตั้งค่าเพิ่มเติม เช่น ใส่คำอธิบายหัวข้อคำถาม ให้คลิกที่รูป “ตั้งค่า” มุมขวาด้านล่าง และเลือกที่  คำอธิบาย

  • จะมีช่องคำอธิบายปรากฏขึ้นมา จากนั้นกรอกคำอธิบายคำถามลงไป เช่น กรุณากรอกชื่อเป็นภาษาไทย

  • ต่อไปเป็นการสร้างรายการที่เหลือ เช่น
    • นามสกุล (เลือกรายการแบบ : คำตอบสั้นๆ)
    • เพศ (เลือกรายการแบบ : ตัวเลือก)
    • อีเมล์ (เลือกรายการแบบ : คำตอบสั้นๆ)
    • เบอร์โทรศัพท์ (เลือกรายการแบบ : คำตอบสั้นๆ)

หลังจากเพิ่มรายการสำหรับเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เราสามารถคลิกดูตัวอย่างฟอร์มได้เลย โดยคลิกที่รูป”ดวงตา” หากใครต้องการปรับแต่งฟอร์มเช่นการเปลี่ยนสี การใส่รูปภาพไว้ด้านบนฟอร์ม สามารถคลิกที่รูป “จานสี” ได้เลยคับ

ติดตั้งส่วนเสริม “formLimiter”

หลังจากที่เราได้สร้างรายการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบต่างๆ ของผู้ลงทะเบียนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตั้งส่วนเสริม สำหรับกำหนดจำนวนผู้ลงทะเบียน หรือผู้ที่เข้ามาตอบแบบฟอร์ม โดยใช้ส่วนเสริมที่มีชื่อว่า “formLimiter

ขั้นตอนที่ 2

  • ส่วนการติดตั้งส่วนเสริมนั้น ให้คลิกที่รูป “จิ๊กซอว์” -> formLimiter

  • คลิกที่  Set limit  เพื่อตั้งค่า

  • การตั้งสามารถตั้งค่าได้ 2 แบบ
    • date and time = กำหนดวันที่ปิดฟอร์ม
    • max number of form responses = กำหนดจำนวนผู้ตอบกลับ

  • ในตัวอย่างรูปภาพด้านล่างเป็นการเลือกแบบ “max number of form responses
    • ในช่องของ when number of responses…  กรอกตัวเลขจำนวนผู้ตอบกลับ เช่น 30 คน หากเมื่อครบ 30 คนแล้ว แบบฟอร์มจะปิดรับข้อมูลทันที
    • ในช่องของ Message where submissions… กรอกข้อความที่จะปรากฏหลังจากฟอร์มปิดรับข้อมูล เพื่อแจ้งให้กับผู้ลงทะเบียนได้ทราบ
  • หลังจากตั้งค่าเสร็จสิ้น คลิกที่ “Save and enable” เพื่อบันทึกการตั้งค่าและเปิดใช้งาน formLimiter

เผยแพร่ฟอร์มลงทะเบียนออนไลน์

หลังจากตั้งค่า formLimiter ในการกำหนดจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเผยแพร่ฟอร์มออนไลน์ไปยังผู้ที่ต้องการลงทะเบียน ผ่าน URL หรือ ลิงค์

ขั้นตอนที่ 3

  • คลิกที่ “ส่ง” เพื่อเริ่มส่งฟอร์มเผยแพร่ให้กับผู้ที่ต้องการลงทะเบียน

  • การส่งฟอร์มสามารถส่งได้ 3 รูปแบบ 1.ส่งผ่านอีเมล์ 2.ส่งลิงค์ 3.ฝังหน้าเว็บ
    1. ในตัวอย่างรูปภาพด้านล่าง เลือกรูปแบบในการส่งคือ “ส่งลิงค์” โดยคลิกที่รูปโซ่
    2. ย่อ URL ให้สั้นลงโดยคลิกที่ “ตัด URL ให้สั้นลง
    3. คัดลอก(CopyURL ที่ได้มา จากนั้นเผยแพร่ส่งลิงค์ ให้กับผู้ที่ต้องการลงทะเบียนได้เลย โดยผ่านทาง WebsiteFacebook, Line, E-mail เป็นต้น

  • หลังจากผู้ที่ต้องการลงทะเบียน ได้รับลิงค์ที่เราส่งไปให้แล้ว ก็จะปรากฏหน้าต่างฟอร์มกรอกข้อมูลที่เราได้สร้างขึ้นเพื่อรับข้อมูลจากผู้ลงทะเบียน

ดูผลการตอบกลับ

เราสามารถดูผลการตอบกลับได้แบบ Real-time ข้อมูลผลการตอบกลับก็จะแสดงจำนวนผู้ลงทะเบียนขึ้นมาทันที

  • หากต้องการดูผลการตอบกลับให้คลิกที่แท็บ  การตอบกลับ
  • ข้อมูลจะถูกแสดงขึ้นมาทั้งรูปแบบ ตัวอักษร และกราฟต่างๆ

  • ในกรณีที่ต้องการ Download ผลการตอบกลับออกมาเป็นไฟล์ Excel ให้เราคลิกที่ ไอคอนสีเขียว

  • เลือก “สร้างสเปรดชีตใหม่” และกดคลิก “สร้าง” ในขั้นตอนนี้เป็นการสร้าง สเปรดชีต ของ Googleขึ้นมา (เรียกอีกอย่างหนึ่งคือ Excel เวอร์ชั่นของ Google นั้นเอง)

  • จากนั้นเราจะได้แท็บหน้าเว็บใหม่ขึ้นมา สำหรับสเปรดชีต ของ Google โดยเฉพาะ ในตารางจะมีข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนอยู่ โดยแยกข้อมูลแต่ละส่วนออกเป็นคอลัมน์อย่างชัดเจน
  • หากเราต้องการ Download ข้อมูลออกมาเป็นไฟล์ Excel ให้คลิกไปที่ ไฟล์ -> ดาวน์โหลดเป็น -> Microsoft Excel (.xlsx)

จบขั้นตอนการสร้างแบบฟอร์ม Google

 

ข้อมูลอ้างอิง https://officemanner.com

 

TECHNOLOGY LAND CO., LTD.

เทคโนโลยีแลนด์ ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace